https://feshousekaide.blogspot.com/google.com,%20pub-3791389710662192,%20DIRECT,%20f08c47fec0942fa0 13 สาเหตุทำให้ปัสสาวะบ่อย !!

เคล็ดลับ! กายบริหารแกว่งแขนบำบัดโรค

หลักสำคัญของการบริหารแกว่งแขนบำบัดโรค 1. ยืนตรง  เท้าทั้งสองข้างแยกออกจากกัน ให้มีระยะห่างเท่ากับช่วงไหล่ 2. ปล่อยมือทั้งสองข...

13 สาเหตุทำให้ปัสสาวะบ่อย !!

ปัสสาวะบ่อยเกิดจากอะไรได้บ้าง...!?



โดยปกติแล้วผู้ที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงดี ช่วงตอนกลางวันจะปัสสาวะวันละ 3 – 5 ครั้ง และวันละ 1 – 2 ครั้งในตอนกลางคืน แต่ถ้าหากมีอาการปวดปัสสาวะบ่อยๆ หรือมีความถี่ในการเข้าห้องน้ำมากกว่าจำนวนครั้งที่กล่าวมานี้ อาจเป็นสัญญาณเตือนถึงปัญหาสุขภาพหรือโรคที่แฝงซ่อนอยู่ดังต่อไปนี้

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รูปปวดปัสสาวะ
 à¸£à¸¹à¸›à¸ à¸²à¸žà¸—ี่เกี่ยวข้อง
1.ดื่มน้ำเยอะเกินไป
เมื่อเรารับประทานอาหารรสจัดๆ จะทำให้กระหายน้ำบ่อย หรือแม้แต่การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมากเกินไป จะทำให้เกิดภาวะกระหายน้ำมากผิดปกติ ซึ่งเกิดจากระบบประสาท ทำให้เราดื่มน้ำมากกว่าปกติแล้วร่างกายมีการขับออก จึงเป็นสาเหตุที่ส่งผลให้ปัสสาวะบ่อย
2.กระเพาะปัสสาวะมีขนาดเล็กกว่าปกติ
กระเพาะปัสสาวะขนาดปกติจะสามารถเก็บน้ำได้ประมาณ 300 – 500 ซีซี แต่บางคนอาจจะมีขนาดกระเพาะปัสสาวะที่เล็กกว่าปกติ จึงทำให้เก็บน้ำได้น้อยกว่า 300 ซีซี ทำให้มีอาการปวดปัสสาวะบ่อยกว่าคนทั่วไป
3.โรคกระเพาะปัสสาวะไวเกิน
อาการปัสสาวะบ่อยนี้เกิดจากภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวมากเกินไป ผู้ป่วยบางรายรู้สึกปวดปัสสาวะ 2 – 3 ครั้งต่อชั่วโมง และถ้าอยู่ในบริเวณที่มีอากาศเย็นจะทำให้รู้สึกปวดปัสสาวะบ่อยขึ้น และอาจมีอาการปัสสาวะเล็ดหรือเจ็บท้องน้อยอีกด้วย
4.ความเสื่อมของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะ
อาการนี้มักเกิดขึ้นกับวัยกลางคนที่ทำงานหนักและผู้สูงอายุ ทำให้ประสิทธิภาพของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะเสื่อมลง  กระเพาะปัสสาวะมีการหดรัดตัวและสูญเสียความยืดหยุ่น จึงส่งผลให้ปวดปัสสาวะบ่อยและมีอาการปัสสาวะเล็ดเวลาที่ไอ จาม หรือเคลื่อนไหวร่างกายนานๆ
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
5.โรคนิ่วในไตหรือติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะ
เมื่อมีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ จะทำให้เกิดอาการระคายเคืองแล้วรู้สึกปวดปัสสาวะบ่อยขึ้น และอาจมีอาการเจ็บหลังหรือตรงสีข้าง ซึ่งเกิดจากโรคนิ่วในไต แต่ถ้าปวดปัสสาวะจนแทบกลั้นไม่ได้แล้วปัสสาวะออกมาครั้งละนิดเดียว อาจจะเกิดจากการติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะ
6.โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชนิดเดียวกับที่อาศัยอยู่ในลำไส้ แต่เมื่อเชื้อชนิดนี้เข้าไปในท่อปัสสาวะจะก่อให้เกิดอาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบ โดยเราสามารถสังเกตได้จากอาการปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะกะปริบกะปรอย ปัสสาวะขัด และมีอาการปวดท้องน้อยขณะปัสสาวะ
7.เนื้องอกในกระเพาะปัสสาวะ
เกิดขึ้นมากกับผู้ชายที่สูบบุหรี่เป็นระยะเวลานานๆ ซึ่งเนื้องอกนี้อาจเป็นเนื้องอกปกติหรือเนื้อร้ายก็ได้ โดยเนื้องอกจะไปกดทับกระเพาะปัสสาวะ ทำให้กระเพาะปัสสาวะบีบตัวบ่อยมากขึ้น ส่งผลให้มีอาการปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะติดขัด และมีเลือดปนออกออกมากับปัสสาวะ
8.โรคไต
อาการปัสสาวะบ่อยเป็นอีกอาการหนึ่งของผู้ป่วยที่เป็นโรคไตชนิดต่างๆ อันเนื่องมาจากไตมีภาวะการทำงานที่ผิดปกติ ส่งผลให้ไตไม่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่สามารถดูดน้ำกลับเข้าสู่ร่างกายได้ แต่จะถูกขับออกจากร่างกายในรูปของปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
9.ตั้งครรภ์
ระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนในผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์จะเพิ่มปริมาณสูงขึ้น ทำให้ไตมีการขยายตัวอีกประมาณ 1.5 เซนติเมตร ส่งผลต่อมดลูกและกระเพาะปัสสาวะให้มีการขยายตัวตามไปด้วย จึงทำให้คุณแม่ที่ตั้งครรภ์รู้สึกแน่นท้องและปวดปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ
10.ยารักษาโรคบางชนิด
ยาที่จัดอยู่ในกลุ่มยาขับปัสสาวะและกลุ่มแอนติโคลิเนอร์จิก อย่างเช่นกลุ่มยาคลายเครียดและยากลุ่มโรคประสาท เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มีอาการปวดปัสสาวะบ่อยด้วยเช่นกันซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปกติของการรับประทานยา กลุ่มนี้
11.โรคเบาหวาน
เมื่อเรามีระดับน้ำตาลในเลือดสูง จะส่งผลให้ไตต้องทำงานหนักมากขึ้นและมีการขับน้ำตาลส่วนเกินออกมาทางกระเพาะปัสสาวะ หรืออาจมีการติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะร่วมด้วย ทำให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานรู้สึกปวดปัสสาวะบ่อยนั่นเอง
12.โรคต่อมลูกหมากโต
อาการต่อมลูกหมากโตจะทำให้กล้ามเนื้อของปัสสาวะบีบตัวแรงๆ เพื่อให้สามารถขับน้ำปัสสาวะผ่านท่อแคบๆ ที่ต่อมลูกหมากเบียดอยู่ ส่งผลให้มีอาการปัสสาวะขัด แล้วทำให้ผนังกระเพาะปัสสาวะหนาขึ้นจนเก็บน้ำในกระเพาะปัสสาวะลดลง
13.โรคที่เกี่ยวกับระบบประสาท
เมื่อระบบประสาทที่มีหน้าที่ควบคุมกระเพาะปัสสาวะเสื่อมลง จะส่งผลต่อการควบคุมระบบขับถ่ายโดยตรง และทำให้มีอาการปวดปัสสาวะบ่อยมากขึ้นหรือควบคุมไม่ได้เลย
ดังนั้นเราจึงควรหมั่นสังเกตอาการของตัวเองว่า ในแต่ละวันมีอาการปัสสาวะบ่อยมากน้อยเพียงใด หรือหากปวดปัสสาวะจนไม่สามารถกลั้นได้ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายอย่างละเอียดทันที

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

ไม่มีความคิดเห็น: