https://feshousekaide.blogspot.com/google.com,%20pub-3791389710662192,%20DIRECT,%20f08c47fec0942fa0 Cozy Health

เคล็ดลับ! กายบริหารแกว่งแขนบำบัดโรค

หลักสำคัญของการบริหารแกว่งแขนบำบัดโรค 1. ยืนตรง  เท้าทั้งสองข้างแยกออกจากกัน ให้มีระยะห่างเท่ากับช่วงไหล่ 2. ปล่อยมือทั้งสองข...

แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ การบริหารแกว่งแขนรักษาโรค แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ การบริหารแกว่งแขนรักษาโรค แสดงบทความทั้งหมด

วันอังคารที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

16 เคล็ดลับ ! "แกว่งแขนขจัดโรค" ให้ได้ผลดียิ่ง !




การบริหารแกว่งแขนรักษาโรค 

มีเคล็ดลับอยู่ 16 ประการดังนี้:-


1.
ส่วนบน ควรจะปล่อยใหว่าง คือศรีษะ ควรปล่อยให้ว่างเปล่าอย่าคิดฟุ้งซ่าน มีสาธิแน่วแน่
2.
ส่วนล่างควรให้แน่น ตั้งแต่บั้นเอวลงไป ต้องให้ลมปราณเดินได้สะดวกเพื่อให้เกิดพลังสมบูรณ์
3.
ศรีษะควรปล่อยตามสบายๆประหนึ่งแขวนลอยในอากาศ กล้ามเนื้อคอจะต้องปล่อยให้ผ่อนคลาย
4.
บริเวณปากควรปล่อยให้ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ และหุบปากเพียงเล็กน้อย ไม่เม้มริมฝีปากจนแน่น
5.
ทรวงอกเหมือนปุยฝ้าย กล้ามเนื้อทุกส่วนบนทรวงอกต้องให้ผ่อนคลายตามแบบธรรมชาติไม่เกร็ง
6.
หลังยืดตรงตระหง่าน ปล่อยให้แผ่นหลังให้ยืดตรงตามธรรมชาติ ไม่แอ่นหน้าแอ่นหลัง / หลังโก่ง
7.
บั้นเอวต้องให้เหมือนเพลารถ ต้องให้อยู่ในลักษณะตั้งตรง
8.
ลำแขนควรแกว่งไกว หมายถึง แกว่งแขนทั้งสองข้างไปมา
9.
ข้อศอกควรปล่อยให้ลดต่ำตามธรรมชาติขณะแกว่งแขน ควรงอศอกเล็กน้อยตามธรรมชาติ
10.
ข้อมือควรปล่อยให้หนักหน่วง คือควรผ่อนคลายกล้ามเนื้อที่ข้อมือไม่เกร็ง เหมือนลูกตุ้มถ่วง
11.
สองมือนั้นควรผายไปตามจังหวะแกว่งแขน ขณะแกว่งแขนนั้นทำท่าคล้ายกับท่าพายเรือ
12.
ช่วงท้องควรปล่อยตามสบาย เมื่อกล้ามเนื้อท้องถูกปล่อยให้ผ่อนคลายแล้วจะรู้สึกว่าแข็งแกร่งขึ้น
13.
ช่วงขาควรผ่อนคลาย ในขณะที่ยืนให้เท้าทั้งสองแยกห่างกันนั้นควรผ่อนกล้ามเนื้อช่วงขา
14.
บั้นท้ายก้นให้งอขึ้นเล็กน้อยระหว่างกายบริหาร หดก้น(ขมิบ)คล้ายยกสูงให้หดหายไปในลำไส้
15.
ส้นเท้า  ควรยืนถ่วงน้ำหนัก คือยืนด้วยส้นเท้าที่มั่นคงยึดแน่นเหมือนก้อนหินไม่มีการสั่นคลอน
16.
ปลายนิ้วเท้าจิกแน่นกับพื้นขณะยืน ปลายนิ้วเท้าทั้งสองข้างควรจิกแน่นกับพื้นเพื่อยึดให้มั่นคง