https://feshousekaide.blogspot.com/google.com,%20pub-3791389710662192,%20DIRECT,%20f08c47fec0942fa0 พฤษภาคม 2019

เคล็ดลับ! กายบริหารแกว่งแขนบำบัดโรค

หลักสำคัญของการบริหารแกว่งแขนบำบัดโรค 1. ยืนตรง  เท้าทั้งสองข้างแยกออกจากกัน ให้มีระยะห่างเท่ากับช่วงไหล่ 2. ปล่อยมือทั้งสองข...

วันเสาร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

2 ปี วิธีเตรียมตัวกายใจเข้าสู่-->2564 สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์(Complete Aged Society)



การเตรียมตัวกายใจเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุที่มีคุณภาพง่ายๆ
*** ตามวิธีสโลว์ไลฟ์สไตล์ ***
Slow Life <--> Slow Foods <--> Slow Exercise

@ การใช้ชีวิตประจำวัน เป็นไปอย่างมีสติทุกย่างก้าว ทำจิตใจให้แจ่มใสเบิกบาน หันหน้าเข้าสู่ธรรมะ ให้รู้จักพินิจพิเคราะห์เรื่องราวอย่างมีสติ ทุกความเคลื่อนไหว "รู้แล้ววาง วางแล้วว่าง ว่างแล้วดับ ดับแล้วเย็น" ตั้งแต่ตื่นนอนตอนเช้า จนถึงสวดมนตร์ไหว้พระแล้วเข้านอนในตอนกลางคืน เพื่อให้ร่างกายได้รับการพักผ่อนนอนหลับสบาย 

@ เรื่องอาหารการกิน เน้นอาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ กินผักผลไม้อินทรีย์ที่ปลอดสารพิษ ให้มีทุกมื้ออาหาร ควรทำอาหารคลีนฟู้ดไว้กินเองสด สะอาด ทำอย่างพิถึพิถัน กินแต่พออิ่มสบายท้องด้วยจิตใจที่ผ่อนคลายสบาย และดื่มกินอาหารนั้นอย่างมีความสุข ในมื้อเย็นงดแป้งทุกชนิด และควรกินก่อนหกโมงเย็น

@ รักการออกกำลังกาย และทำสม่ำเสมอในทุกๆวัน เลือกวิธีออกกำลังกายที่เหมาะสมกับผู้สูงวัย  เช่นกายบริหารโดยวิธี "แกว่งแขนบำบัดโรค" เป็นวิธีที่ง่ายๆสบายๆ แต่มีประโยชน์ต่อสุขภาพร่ายกายมากๆ ช่วยให้ร่างกายเราสมดุล มีเลือดลมไหลเวียนได้เป็นอย่างดี ทำให้ปลอดโรคปลอดภัย ทำให้อายุยืน



การจะก้าวเข้าสู่การเป็นผู้สูงอายุอย่างมีคุณภาพได้นั้นเริ่มที่ตัวเรา ปรับเปลี่ยนความคิดสักนิด โดยเปลี่ยนจากความคิดที่ว่า เราควรใช้ชีวิตตามแบบฉบับผู้สูงอายุในตำรา เป็นการคิดว่าเราจะทำอย่างไรให้ตัวเองมีคุณค่า เป็นแรงบันดาลใจให้กับคนรุ่นใหม่ได้นำแนวคิด การดำเนินชีวิต และประสบการณ์ของเราไปปรับใช้ มองว่าเราคือบุคคลหนึ่งที่พร้อมจะพัฒนาประเทศชาติไปพร้อม ๆ กับคนรุ่นใหม่ได้ดีเช่นกัน.




++บทความดีๆ จาก สสส. นำมาบอกต่อกันค่ะ ! 
‘สูงวัย’ อย่างมีคุณภาพ thaihealth
อย่างที่ทราบกันว่าประเทศไทยกำลังจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Complete Aged Society) ในปี 2564 ทำให้การเปลี่ยนแปลงนี้ส่งผลต่อประเทศไทยในหลายด้าน ที่เห็นได้ชัดคือ ประชากรผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นในขณะที่วัยแรงงานลดลง ทำให้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและการแบกรับภาระการดูแลผู้สูงอายุเพิ่มสูงขึ้น
“ที่ผ่านมา สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ให้ความสำคัญกับเรื่องการเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยเข้ามารับผิดชอบดูแล และเชื่อมประสานระหว่างภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐ ภาคเองชน และภาคประชาสังคม ในการส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ซึ่งประชากรไทยร้อยละ 40 ยังไม่ได้เตรียมความพร้อมเพื่อเป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพ และวัยแรงงานกว่า 15 ล้านคน ที่อยู่ในระบบการออมเพื่อการเกษียณยังมีเงินออมไม่มากพอ หลักประกันทางเศรษฐกิจที่สะท้อนถึงความไม่พร้อมจำเป็นต้องมีการผลักดันให้พร้อมรองรับสังคมสูงวัย” ข้อความดังกล่าวบอกเล่าโดย นางภรณี ภู่ประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ สสส. ภายในงานเสวนาสาธารณะ เรื่อง "สังคมสูงวัยไทย-ญี่ปุ่น : สูงวัยอย่างมีพลังในโลกยุคดิจิทัล" (Digital and Active Ageing in Japan and Thailand)
‘สูงวัย’ อย่างมีคุณภาพ thaihealth
จากการพูดคุยกับ ‘ครูเล็ก’ ภัทราวดี  มีชูธน ศิลปินแห่งชาติ ตัวแทนผู้สูงวัยที่มีพลังในโลกยุคดิจิทัล ครูเล็กเล่าว่า “พออายุถึง 60 ปี ได้เริ่มต้นใหม่อีกครั้ง โดยการให้ความรู้และประสบการณ์ที่เรามีกลับคืนไปสู่เด็ก ๆ และคนที่อยู่ในแวดวงเดียวกัน ถือว่าเป็นการพัฒนาตนเองไปอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งช่วงนี้เรามีเวลาและมีความพร้อม จึงสามารถนำความรู้กลับไปสู่คนอื่น ๆ ได้ เหมือนทดแทนบุญคุณแผ่นดิน”
‘ครูเล็ก’ บอกว่าการจะก้าวเข้าสู่วัยผู้สูงอายุที่มีคุณภาพนั้น สิ่งที่ควรคำนึงคือ ความคิด ถ้าคิดว่าแก่แล้วไม่มีประโยชน์อะไร ไม่มีคุณค่า ก็จะเกิดการป่วยไข้และเป็นภาระของลูกหลาน ผู้ใหญ่ต้องคิดให้เป็นก่อนว่าตัวเองมีคุณค่า และทุกคนไม่ว่าจะทำอาชีพอะไร ทุกคนมีคุณค่า
“การเรียนรู้เพิ่มเติม แลกเปลี่ยนความรู้ความคิดกับผู้คนที่หลากหลาย การเรียนมันจุดประกายให้ได้คิดว่าเราทำอะไรได้บ้าง ถึงจะไม่ได้มากมายแต่ก็ทำให้เราได้ใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่า”
 “เราต้องสร้างกำลังใจให้กับตัวเองด้วยความมุ่งมั่นที่ว่า เราจะอยู่บทแผ่นดินนี้อย่างมีคุณค่าต่อไป ต้องสร้างเอง คิดให้เป็น และหาวิธี ได้แค่ไหนก็แค่นั้น ถ้าเราทำไปเรื่อย ๆ เราจะเก่งขึ้นเรื่อย ๆ และอย่าไปคิดถึงตัวเลข อย่าไปคิดว่าแก่แล้วปล่อยเนื้อปล่อยตัว ไม่ดูแลตัวเอง อย่าปล่อยสมอง ต้องทันสมัยทั้งสมองและความคิด” ครูเล็กได้พูดให้กำลังใจกับผู้สูงอายุที่หมดไฟ หรือกำลังมองข้ามคุณค่าของตนเอง
นอกจากแนวคิดการเตรียมความพร้อมเป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพของครูเล็ก ยังมีปัจจัย 4 ด้าน ที่ทุกคนควรเตรียมความพร้อมสู่วัยผู้สูงอายุก็คือ “สุขภาพดี มีเงินออม เตรียมพร้อมบ้านปลอดภัย เตรียมกายใจสู่วัยผู้สูงอายุ” ดังนี้
‘สูงวัย’ อย่างมีคุณภาพ thaihealth
สุขภาพที่ดี เพราะสุขภาพที่ดีจะทำให้เราเตรียมความพร้อมเป็นผู้สูงวัยอย่างมีคุณภาพ โดยที่ไม่มีปัญหาทางร่างกายเป็นอุปสรรค
1. ดูแลสุขภาพตั้งแต่อายุยังน้อย
2. รับทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ในปริมาณที่เหมาะสม
3. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
4. ควบคุมน้ำหนักไม่ให้มากหรือน้อยเกินไป
5. หมั่นตรวจร่างกายประจำปี
- สำหรับผู้ที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป ควรตรวจร่างกายทุก 5 ปี
- ผู้ที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไป ควรตรวจร่างกายอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
6. งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และงดสูบบุหรี่
หากคุณไม่เริ่มเตรียมตัวตั้งแต่เนิ่น ๆ อนาคตคุณอาจจะเป็นผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงสูงต่อโรคอย่าง โรคหัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง อัมพฤกษ์ – อัมพาต หรือโรคเรื้อรังอื่น ๆ อย่างแน่นอน
‘สูงวัย’ อย่างมีคุณภาพ thaihealth
มีเงินออม การออมเงินในทุกช่วงวัยเป็นเป็นหลักประกันให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ เมื่อเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ
เทคนิคการออม
- ช่วงอายุก่อน 30 ปี เป็นช่วงที่มีโอกาสในการเก็บออมสูง จึงควรแบ่งเงินออมไม่ต่ำกว่า 50% ของรายได้
- ช่วงอายุ 30-40 ปี เป็นช่วงมีภาระค่าใช้จ่ายสูง เพราะเป็นรอยต่อของชีวิตคู่และมีครอบครัว ควรแบ่งเงินออมไม่ต่ำกว่า 35% ของรายได้
- ช่วงอายุ 40-50 ปี เป็นช่วงวัยที่มีรายจ่ายค่อนข้างมากกว่าช่วงอื่น ๆ แต่ก็ควรแบ่งเงินออมไม่ต่ำกว่า 30% ของรายได้
- ช่วงอายุ 50-60 ปี เป็นช่วงวัยที่เหลือเวลาทำงานไม่นาน ควรเน้นการนำเงินส่วนใหญ่ที่ได้ไปเก็บออม โดยควรแบ่งเงินออมไม่ต่ำกว่า 70% ของรายได้
- ช่วงอายุ 60 ปีขึ้นไป เป็นช่วงวัยเพื่อการพักผ่อนและท่องเที่ยว ควรแบ่งเงินออมไม่ต่ำกว่า 25 % ของรายได้
แม้วิธีการออมนี้อาจจะยาก เนื่องจากหลาย ๆ คนพบกับปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายที่มีค่อนข้างมาก มีรายได้เข้ามาก็ต้องมีเหตุให้จ่ายออกไป ดังนั้น วิธีที่ง่ายที่สุดคือ การควบคุมค่าใช้จ่ายให้สมดุลกับรายรับที่เข้ามา เพื่อจะได้ไม่ติดลบ และมีเงินเหลือเก็บ
‘สูงวัย’ อย่างมีคุณภาพ thaihealth
เตรียมพร้อมบ้านปลอดภัย
ทำไมต้องเตรียมพร้อมบ้านปลอดภัย ? เพราะเมื่ออายุมากขึ้นร่างกายก็มีการเสื่อมสภาพตามอายุด้วย อะไรที่เคยใช้ได้ดี เคยแข็งแรงก็จะลดประสิทธิภาพลง ดังนั้นการเตรียมพร้อมบ้านปลอดภัย เหมาะสมจนกระทั่งคุณเป็นผู้สูงอายุ จะทำให้การใช้ชีวิตสะดวกขึ้น และลดการเกิดอุบัติเหตุ
ตัวอย่างการเตรียมบ้านให้ปลอดภัย
- หลีกเลี่ยงพื้นที่ต่างระดับ
- พื้นผิวไม่ลื่น
- ใช้สีที่ตัดกันเพื่อการมองเห็นที่ชัดเจน เช่น ขอบบันได ขอบโต๊ะ
- ทำราวจับหรือราวเกาะช่วยพยุงตัวบริเวณห้องนอน ห้องนั่งเล่น ทางเดินไปห้องน้ำ และในห้องน้ำ
- ปรับขนาดความสูงของบันไดให้ไม่สูงและชัน มีชานพัก
‘สูงวัย’ อย่างมีคุณภาพ thaihealth
เตรียมกายใจสู่วัยสูงอายุ เตรียมใช้ชีวิตอย่างไร เพื่อจะเป็นสูงวัยที่มีคุณภาพ
ด้านสุขภาพกาย ดูแลสุขภาพให้ดี อย่าปล่อยให้เจ็บป่วยเรื้อรัง สุขภาพช่องปากก็สำคัญ รักษาฟันและเหงือกให้ดี ดูแลเท้า ขา และหัวเข่าให้แข็งแรง เพื่อให้เดินได้ด้วยตนเอง ไม่ต้องพึ่งพาผู้อื่น
ด้านสุขภาพจิต ทำใจให้พร้อมเตรียมรับมือและยอมรับกับความเสื่อมของร่างกาย หมั่นทำจิตใจให้แจ่มใสเบิกบาน ศึกษาธรรมะหรือร่วมกิจกรรมทางศาสนา และรู้จักปล่อยวาง


ด้านสังคม เป็นผู้สูงวัยที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม ถ่ายทอดประสบการณ์ให้คนรุ่นใหม่ ประกอบอาชีพที่เหมาะสมตามวัย สภาพร่างกาย และนิสัยความชอบของตนเอง ไปร่วมกิจกรรม เช่น นันทนาการ การเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเอง การเป็นอาสาสมัครเป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ หรือทำงานอดิเรก การขยายวงสังคมช่วยให้ได้รู้จักเพื่อนต่างวัยก็เป็นเรื่องที่ดี ทำให้คลายเหงา มีชีวิตชีวามากขึ้น ทำจิตใจให้ร่าเริงเบิกบานอยู่เสมอจะทำให้อายุยืน

Tips " การแกว่งแขน" ช่วยรักษาโรคตา @ เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย + ช่วยให้พุงยุบ !




Tips " การแกว่งแขน" ช่วยรักษาโรคตา 
@ เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย + ช่วยให้พุงยุบ !

ชม ! " วิธีแกว่งแขนบำบัดโรค "

ด้วยคลิปวิดีโอนี้ค่ะ


https://www.youtube.com/watch?v=ux9g71Nx8iE


Tips " การแกว่งแขน" ช่วยรักษาโรคตา 
@ เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย + ช่วยให้พุงยุบ ! 

Exercise swing the for therapist arm , 
swing the arm reduce belly !




"โรคตา" การแกว่งแขนสามารถรักษาตาได้

กายบริหารแกว่งแขน ก็มีประโยชน์ต่อผู้ป่วยโรคตาได้
มีบางท่านสวมแว่นตาหนาเตอะถึง 350 องศา เมื่อทำการบริหาร
แกว่งแขน ก็ไม่ต้องสวมแว่นตาอีกต่อไป อาทิเช่น...

นางโต่ว อาม้อ อายุ 64 ปี ตาเป็นต้อหิน มองเห็นเป็นเงาลางๆ
นางคิดว่าเมื่อเป็นมานานหลายปีเช่นนี้คงจะหายขาดได้ยาก
จึงเริ่มทดลองฝึกกายบริหารแกว่งแขนตอนเช้า 2,000 ครั้ง 
ตอนเย็น 1,000 ครั้ง ทำอยู่ประมาณ 1 เดือน 
ตาก็สามารถมองเห็นอย่างเดิม

หนังสือ "เน่ยจิง" คัมภีร์แพทย์เล่มแรกของจีนกล่าวไว้ว่า
ตา เมื่อได้รับเลือดลมหล่อเลี้ยง จึงสามารถมองเห็น
แสดงว่าข้อสำคัญอยู่ที่เลือดตัวเดียวที่เป็นปัญหา เมื่อเลือด
เดินไปไม่ถึงทุกส่วนของร่ายกาย ก็จะเกิดเป็นโรคต่างๆ ได้

ส่วนต่างๆ ของร่างกายเราทั่วร่างต่างก็มีส่วนสัมพันธ์กันทุกส่วน
ไม่ว่าจะเป็นชีพจร เส้นเลือด ทางลม หากเลือดหมุนเวียนทั่วทุกส่วน
เราก็จะรู้สึกสบายไม่เจ็บป่วย

อย่างไรก็ตาม เมื่อเราได้ทำกายบริหารแกว่งแขน โดยทั่วไปแล้ว
จะรู้สึกเจริญอาหาร เดินกระฉับกระเฉง นอนหลับสบาย ท้องไม่ผูก 
เป็นข้อสันนิษฐานว่าระบบการเผาผลาญในร่างกายนั้นทำงานดีขึ้น




Tips !  เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย @กายบริหาร
"การแกว่งแขน"สามารถช่วยให้ "พุงยุบ"

วิธีทำง่ายๆ เพื่อลดพุง/หน้าท้องให้กล้ามเนื้อเฟิร์มกระชับขึ้น
 สามารถทำได้ในขณะที่กำลังทำกายบริหารแกว่งแขนไปพร้อมๆกัน
นั่นก็คือ....."ให้เกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้องให้หดยุบเข้าไปด้านในท้อง"

การสังเกตุดู ! 
จากที่เราเคยปล่อยให้ไขมันหน้าท้องย้อยลงตามสบาย พุงก็ยื่นออกมา 
แต่เมื่อเราเกร็งกล้ามเนื้อพุง ตามวิธีดังกล่าวแล้วพุงก็ยุบลง ฉะนั้นจึงควรฝึกกาย
บริหารบริเวณหน้าท้องเสมอๆ  จึงจะมีกล้ามเนื้อหน้าท้องที่เฟิร์มกระชับได้ค่ะ !






***(มหิทธิปสา ค้นคว้ารวบรวม) จากนิตยสาร...โลกลี้ลับ***

วันพฤหัสบดีที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

ต้นเหตุการเกิด"โรคมะเร็ง" @การบริหารแกว่งแขนบำบัดโรคได้...!?

ต้นเหตุโรคร้าย ! 
 "เลือดลม" เป็นต้นเหตุทำให้ร่างกายเราผิดปกติมีปัญหา 
โรคต่างๆมากมายจะเกิดขึ้นกับร่างกายเรา จนอาจเกิดโรคร้ายตามมา
เช่น "โรคมะเร็ง" เป็นโรคร้ายที่น่ากลัว เกิดขึ้นในทุกเพศทุกวัย 
ซึ่งมักจะพบเห็นกันบ่อยว่า..มีคนป่วยด้วยโรคมะเร็งและตายไปกับโรคนี้

ได้ยินได้ฟังกันจนจะเป็นปกติไปแล้ว และยังเกิดกับคนที่อยู่ไม่ไกลตัวเลย
ดังนั้น จึงจำเป็นต้องศึกษาหาความรู้กันถึงสาเหตุของการเกิดโรค
ต้องสนใจรักษาสุขภาพร่างกายให้ดีและรู้เท่าทัน เพื่อห่างไกลจากโรคนี้
มาติดตามอ่านดูกันในความเป็นมาของ "การเกิดโรคมะเร็ง"




ต้นเหตุ ! การเกิดโรคมะเร็ง
มะเร็งและเนื้องอกเป็นผลจาก"การรวมตัวเกาะเป็นก้อนของเลือดลม"
และเส้นชีพจรติดขัด ระบบการขับถ่ายของเสียไม่ทำงาน การหมุนเวียน
ของโลหิตไม่สะดวก และโลหิตไหลช้าลง น้ำเหลือง น้ำดี น้ำเมือก
ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงผิดปกติ เมื่อเกิดการหมุนเวียนของโลหิต
ขาดประสิทธิภาพ ทำงานไม่เต็มที่ พลังงานหรือความร้อนก็ไม่เพียงพอ


การป้องกัน! 
โดยกายบริหารแกว่งแขน

แต่เมื่อได้ทำกายบริหารแกว่งแขนแล้ว ก็จะเจริญอาหาร เม็ดเลือดเพิ่ม
มากขึ้นกล้ามเนื้อที่ไหล่ทั้งสองข้างได้รับการออกกำลังกาย อาการเกร็ง
ซึ่งแบกน้ำหนักอยู่ตลอดเวลาก็จะหายไป เยื่อบุช่องท้องจะได้รับการ
บริหารขึ้นๆลงๆ ตื่นตัวอยู่เสมอ ก็จะทำให้บังเกิดลมเคลื่อนไหวในระหว่าง
กระเพาะและลำไส้ จะมีปฏิกิริยากระตุ้นบีบบังคับลมเคลื่อนไหวระหว่างไต
เมื่อโลหิตสามารถผลิตความร้อนก็จะเกิดพลังในการรับของใหม่เข้า
ถ่ายของเก่าออก มีประโยชน์ทางบำรุงเลือดลมด้วย


ดังตัวอย่าง... ที่ได้บันทึกไว้เป็นหลักฐาน ! 

นายจู อายุ 76 ปี ป่วยเป็นโรคเนื้องอกในสมองและมะเร็งที่ปอด เขาจึง
ตัดสินใจแน่วแน่ว่าจะทำกายบริหารแกว่งแขน เพื่อบำบัดโรคภัยนี้
เขาได้ทำกายบริหารแกว่งแขนตอนเช้า 2,000 ครั้ง และเย็นหรือกลางคืนอีก
2,000 ครั้ง ก็ได้ผลที่เห็นชัด ทำอยู่เช่นนี้ 5 เดือน โรคร้ายก็หายขาด



เคล็ดลับ! กายบริหารแกว่งแขนบำบัดโรค




ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ แกว่งแขน



หลักสำคัญของการบริหารแกว่งแขนบำบัดโรค

1. ยืนตรง เท้าทั้งสองข้างแยกออกจากกัน ให้มีระยะห่างเท่ากับช่วงไหล่

2. ปล่อยมือทั้งสองข้างลงตามธรรมชาติ อย่าเกร็งให้นิ้วมือชิดกัน หันอุ้งมือไปข้างหลัง

3. ท้องน้อยหดเข้า เอวตั้งตรง เหยียดหลังผ่อนคลาย กระดูก ลำคอ ศรีษะ ปากควรปล่อย
ตามธรรมชาติ

4. จิกปลายนิ้วเท้า ยึดเกาะพื้น ส่วนส้นเท้าให้ออกแรงเหยียบลงบนพื้นให้แน่นรู้สึกกล้ามเนื้อ
ที่โคนเท้าตึง

5. สายตาควรมองไปยังจุดใดจุดหนึ่ง ไม่กังวลหรือนึกคิดฟุ้งซ่าน ให้จุดสนใจรวมอยู่ที่
เป้าหมายเท่านั้น

6. การแกว่งแขนไปข้างหน้าอย่างเบาๆ ความสูงของแขนให้อยู่ระดับธรรมชาติ ทำมุมกับตัวประมาณ 
30 องศา แล้วตั้งสมาธินับหนึ่ง..สอง..สาม..ไปเรื่อยๆ และต้องอย่าลืมออกแรงส้นเท้าและลำขาด้วย เมื่อมือห้อยตรงแล้ว ก็แกว่งขึ้นไปข้างหลังต้องออกแรงหนักแน่น จนรู้สึกว่ากล้ามเนื้อไม่ยอมให้มือยกสูงไปกว่านั้นอีก ก็ให้แกว่งแขนกลับ ความสูงของแขนถึงลำตัวประมาณ  60 องศา

การแกว่งแขนต้องอาศัยความอดทน จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับร่างกายของแต่ละคน อย่าใจร้อน อย่าฝืน แต่ก็ไม่ใช่ทำตามสบาย เพราะหากปล่อยตามใจชอบแล้ว ก็จะขาดความเชื่อมั่นต่อผลของการออกกำลังกาย และจะไม่บังเกิดผล

คุณเชื่อหรือไม่ว่า "เลือดลม" เป็นต้นเหตุทำให้ร่างกายเราผิดปกติมีปัญหา โรคต่างๆมากมายจะเกิดขึ้นกับเราทุกปี โดยเริ่มแรกจะทำให้เรารับประทานอาหารได้น้อยลง นอนหลับน้อยลง 
ต่อไปก็จะกระทบกระเทือนถึงสภาพของร่างกาย คือทำให้ผอมอ่อนแอ

ดังนั้น..ถ้าเราทำให้เลือดลมเดินสะดวกไม่ติดขัดแล้ว โรคร้ายทั้งปวงก็จะหายไปเอง !

วันอังคารที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

เคล็ดลับ! การนวดผ่อนคลายให้หลับสบายหน้าใสกิ๊ก! & แชร์ต่อ!"วิธีนวดข้อนิ้ว"รักษาโรค



เคล็ดลับ! วิธีนวดให้นอนหลับสบาย & หน้าใสกิ๊ก!

ควรนวดในเวลาเข้านอน นวดแล้วทำให้นอนหลับสบายได้ผลดีจริงๆ 
เป็นความเชื่อส่วนตัว ซึ่งได้ปฏิบัติตามเคล็ดลับนี้มานานหลายปีแล้ว
 ประกอบกับความศรัทธาและเชื่อมั่นในครูบาอาจารย์ผู้ประสิทธิประศาสน์วิชานี้
 จึงทำได้ผลจริงค่ะ (ได้ปฏิบัติก่อนนอนทุกคืนตลอดมาจนถึงปัจจุบันนี้)


Trick *Massage sleep well & Face bright tightening* 

(English Subtitle) 

ชมคลิปวิดีโอวิธีนวดกดจุด








*หากเกิดผลบุญจากวิทยาทานนี้เกิดขึ้น ขอจงได้ส่งผลถึงครูบาอาจารย์
ผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชาท่านพญานาคาธิบดีศรีสุทโธ จงได้รับบุญกุศลนั้นไว้
ไปในภายภาคหน้าและจงมีบุญบารมีสูงยิ่งๆขึ้นไปด้วยเทอญ*


ดูวิธีทำบรรยายโดยรูปภาพค่ะ


นวดบริเวณใบหน้า 10 จุด 
นวดจุดบริเวณนั้น 10 ครั้ง


นวดใบหน้า จุดที่ 1.

นวดใบหน้า จุดที่ 2.


นวดใบหน้า จุดที่ 3.


นวดใบหน้า จุดที่ 4.


นวดใบหน้า จุดที่ 5.


นวดใบหน้า จุดที่ 6.


นวดใบหน้า จุดที่ 7.


นวดใบหน้า จุดที่ 8.


นวดใบหน้า จุดที่ 9.


นวดใบหน้า จุดที่ 10.

นวดจุดนั้น 10 ครั้ง
(นวดให้ครบทุกนิ้ว บนฝ่ามือซ้ายและขวา)

นวดจุดที่ 1. บริเวณปลายนิ้ว
นิ้วโป้ง


นิ้วชี้


นิ้วกลาง


นิ้วนาง


นิ้วก้อย



นวดจุดที่ 2. บริเวณโคนนิ้ว

โคนนิ้วโป้ง


โคนนิ้วชี้


โคนนิ้วกลาง


โคนนิ้วนาง


โคนนิ้วก้อย




นวดจุดที่ 3. บริเวณเหนือข้อมือใต้โคนนิ้วแต่ละนิ้ว
ให้นวดจุดละ 10 ครั้ง นวดให้ครบทุกนิ้ว

นวดขึ้นไปถึงโคนนิ้วโป้ง


นวดขึ้นไปถึงโคนนิ้วชี้



นวดขึ้นไปถึงโคนนิ้วกลาง



นวดขึ้นไปถึงโคนนิ้วนาง


นวดขึ้นไปถึงโคนนิ้วก้อย






+นวดบริเวณต้นคอลงมาถึงแขน จนถึงปลายมือ+ทั้งสองข้าง

เพื่อให้กล้ามเนื้อบริเวณต้นคอได้ผ่อนคลาย ทำให้นอนหลับสบาย!



Good Night & Sweet Dream 

***หลับฝันดี ราตรีสวัสดิ์ค๊า !***









<<แชร์บอกต่อค๊า>>

"นวดข้อนิ้ว" รักษาโรค

1. โรคตับ - กดคลึงข้อทั้ง 2 ของหัวแม่มือขวา
2. หูอื้อ - กดคลึงข้อทั้ง 3 ของนิ้วนางทั้ง 2 ข้าง
3. ปวดเข่า - กดคลึงด้านข้างทั้ง 3 ของนิ้วก้อยมือซ้าย
4. เบาหวาน - กดคลึงข้อทั้ง 2 ของหัวมือมือซ้าย
5. ความดันโลหิตสูง - กดคลึงโคนนิ้วก้อยมือซ้าย
6. หัวใจ - กดคลึงข้อทั้ง 3 ของนิ้วก้อยมือซ้าย
7. ปวดประจำเดือน - กดคลึงข้อทั้ง 3 ของนิ้วชี้ทั้ง 2 ข้าง
8. ตาเมื่อย - กดคลึงข้อทั้ง 3 ของนิ้วกลางมือขวา
9. เสริมพลังแก่ร่างกาย - กดคลึงข้อทั้ง 3 ของนิ้วกลางมือซ้าย
แต่ละจุดให้กดนวดคลึงครั้งละ 3 นาที ทำวันละ 1-2 ครั้ง
หากมีไข้หรือนิ้วมีบาดแผล ไม่ควรทำ
อ.มาศ ซินแสฮวงจุ้ยระดับโลก

ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ