ในชีวิตประจำวันของผู้คนในยุคโซเชียล
แต่ละวันตั้งแต่เช้าจนมืดค่ำ ดวงตาของเราต้องทำงานหนักแค่ไหน!?!
ทั้งจ้องจอคอมพิวเตอร์ และส่วนมากจะจ้องจอเล็กๆจากเครื่องโทรศัพท์มือถือ เพื่อพูดคุยอัพเดทข่าวสารต่างๆ ผ่านทาง Social Media ในแอพพลิเคชั่นต่างๆ
ทั้งยังต้องใช้สายตาอ่านหนังสือและทำงานอีก จึงทำให้ดวงตาต้องทำงานหนักตลอดทั้งวัน
จึงได้รับอันตรายจากแสงสีฟ้า
จากคอมพิวเตอร์ จอมือถึอ จอโทรทัศน์ รวมถึงผู้ที่ต้องทำงานกลางแสงแดดจ้านานๆ และ
ผู้ที่มีอาชีพขับรถในเวลากลางคืน ส่วนมากที่กล่าวถึงนี้จึงเป็นกลุ่มเสี่ยง ที่จะได้รับผลกระทบทำให้เซลล์ประสาทตาเสื่อม เกิดอาการปวดตา ตาแห้ง พร่ามัว น้ำตาไหล อีกทั้งเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคจุดรับภาพเสื่อม และโรคต้อกระจกได้อีกด้วย
เราไม่รู้ว่าขณะนี้ ผู้ที่มีพฤติกรรมความเสี่ยง
เริ่มมีอาการดังกล่าวตั้งแต่อายุน้อยๆกันแล้วหรือยัง?! คิดว่าทางสถานพยาบาลเกี่ยวกับตา คงจะมีข้อมูลที่แน่นอน และถ้ามีแนวโน้มเสี่ยงมากที่น่าเป็นห่วงจะกระทบต่อสุขภาพความเป็นอยู่ของผู้คนในสังคมก็คงจะประกาศจากทางการออกมาเตือนกัน! แต่เท่าที่เห็นขณะนี้ ก็จะพบผู้ที่มีอาการตาพล่ามัว น้ำตาไหล ก็เกิดกับตัวเอง และคนสูงอายุเพื่อนฝูงในวัยใกล้เคียงกัน
ถึงเวลาแล้วหรือยัง!?...ที่ต้องใส่ใจดูแลดวงตา
ดูแลเป็นพิเศษ เพราะดวงตาเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง อย่าละเลยปล่อยไปจนเมื่อได้รับผลกระทบและเกิดขึ้นกับตัวเองแล้ว จึงค่อยมาขวนขวายสนใจในการดูแลรักษา อยากเห็นผู้คนให้ความสนใจให้ความสำคัญกับสุขภาพของตัวเองให้มากๆ รู้จักป้องกันโรค โดยการดูแลรักษาสุขภาพของตัวเองไว้แต่เนิ่นๆ เริ่มตั้งแต่ค้นหาข้อมูลเรื่องน่ารู้สาระดีๆต่างๆ ทำความเข้าใจ และป้องกันการเกิดโรค ใส่ใจดูแลดวงตาด้วยสารอาหารที่ดี มีประโยชน์เพื่อดวงตาโดยเฉพาะ
ควรดูแลเรื่องอาหารการกิน และการออกกำลังกาย
ควรกินอาหารในแต่ละวัน ให้ครบ 5 หมู่ เรื่องเกี่ยวกับสุขศึกษา สุขภาพอนามัยที่ดี ที่เคยเล่าเรียนมานั้นลืม!!..ไปหมดแล้วหรือยัง? นั่นคือสิ่งสำคัญยิ่ง ....แล้วลืมเหตุการณ์ที่ "พี่ตูน" มีโครงการวิ่งก้าวคนละก้าว จากใต้สุดมาเหนือสุด ในการระดมทุนเพื่อซื้อเครื่องมือแพทย์ช่วย 11 โรงพยาบาลศูนย์ฯ เมื่อช่วงปลายปีที่ผ่านมาแล้วหรือยัง?! และสิ่งที่เกิดขึ้นคราวนั้นทำให้เราได้เห็นถึงความสำคัญของการออกกำลังกาย การดูแลสุขภาพของเราให้แข็งแรงหรือไม่!?
สิ่งสำคัญยิ่งคือการป้องกันและดูแลสุขภาพ
ถ้าเข้าใจถูกต้องดีแล้ว เราจะไม่ให้กำลังใจคุณหมอที่ทำงานหนักด้วยการตะโกนเพียงคำว่า "คุณหมอ..สู้! สู้!..." แต่เราสามารถช่วยคุณหมอได้ด้วยการป้องกันและดูแลสุขภาพของตัวเองให้ดี หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำอยู่เสมอ ก็จะลดภาระของสถานพยาบาลได้ โดยไม่ต้องเพิ่มจำนวนคนไข้ให้คุณหมอต้องทำงานหนัก และต้องใช้เงินจำนวนมากเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลด้วยจำนวนที่มากขึ้นๆ ที่สำคัญจะเกิดผลดีกับตัวเราเอง ที่มีสุขภาพดี สมบูรณ์แข็งแรงตลอดไป
"ไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ"
"ไม่เจ็บ..ไม่จน"
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น